เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
คำว่า เป็นผู้กำหนัดยินดีในภพ อธิบายว่า ตัณหา ตรัสเรียกว่า ความ
กำหนัดในภพ ได้แก่ ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ
ตัณหาในภพ ความเยื่อใยในภพ ความกระหายในภพ ความเร่าร้อนในภพ
ความลุ่มหลงในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย ชนเหล่านั้น กำหนัด ติดใจ
คลั่งไคล้ หลงใหล หมกมุ่น ติด ข้อง พัวพันในภพทั้งหลาย ด้วยความกำหนัดในภพ
รวมความว่า ชนเหล่านั้นผู้ประกอบการบูชายัญ เป็นผู้กำหนัดยินดีในภพ
คำว่า เราขอกล่าวว่า ... ข้ามชาติและชราไปไม่ได้ อธิบายว่า เราขอกล่าว
คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศว่า
ชนเหล่านั้น ผู้ประกอบการบูชายัญ กำหนัดยินดีในภพ ข้ามไม่ได้ คือ ข้ามไปไม่ได้
ข้ามพ้นไม่ได้ ก้าวล่วงไม่ได้ ล่วงเลยชาติชราและมรณะไปไม่ได้ คือ ไม่ออก ไม่
สลัดออก ก้าวไม่พ้น ไม่ก้าวล่วง ไม่ล่วงเลยชาติชราและมรณะ หมุนวนอยู่
ภายในชาติชราและมรณะ ภายในหนทางแห่งสงสาร คือ ไปตามชาติ ชราติดตาม
พยาธิครอบงำ มรณะย่ำยี ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย
รวมความว่า เราขอกล่าวว่า ชนเหล่านั้นผู้ประกอบการบูชายัญ เป็นผู้กำหนัดยินดี
ในภพ ข้ามชาติและชราไปไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ปุณณกะ)
ชนเหล่านั้นหวัง ชื่นชม มุ่งหวัง จึงพากันบูชายัญ
เพราะอาศัยลาภ จึงมุ่งหวังกาม
เราขอกล่าวว่า ชนเหล่านั้นผู้ประกอบการบูชายัญ
เป็นผู้กำหนัดยินดีในภพ ข้ามชาติและชราไปไม่ได้
[16] (ท่านปุณณกะทูลถาม ดังนี้)
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ถ้าชนเหล่านั้น ผู้ประกอบการบูชายัญ
ข้ามชาติและชราไปไม่ได้ด้วยยัญทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :101 }